Grean-inw :: แจกเกมส์PC โหลดเกมส์ โหลดหนัง
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.
Grean-inw :: แจกเกมส์PC โหลดเกมส์ โหลดหนัง

Grean-inw :: ขอนำคุณเข้าสู่ https://greaninw.thai-forum.net มีแต่ความจริงใจให้กันและกัน
 
บ้านบ้าน  Latest imagesLatest images  สมัครสมาชิก(Register)สมัครสมาชิก(Register)  เข้าสู่ระบบ(Log in)  

ประกาศจาก LockerzMax
 
ยินดีต้อนรับเข้าสู่สังคมเร็วที่นี้เราเรียกตัวเองว่า
โลกของ LockerzMax มีเรื่องดีๆในนี้มากมาย
เช่นแจก PSP ฟรี PS3 ฟรี ทุกอย่างที่พูดมาไม่
ใช้โกหกแต่อย่าได้ทุกอย่างเป็นเรื่องจิงของคน
ไทยที่ได้กับเข้าด้วยจากเว็บ Lockerz นี้เอง
 
ก่อนที่จะมาพูดคุยก็ต้องอ่าน ระเบียบวินัยในเว็บ
เราเสียก่อน อ่าน และอื่นที่มีความน้ารู้ในเว็บอีก
มากมาย
กระทู้น้ารู้
Lokcerz คือ เว็บอะไร สงสัยต้องอ่าน ที่นี้
สมัครเว็บ Lokcerz ยังไงงงไม่เก่งอังกฤษ อ่าน
แลกของได้ยังไง มีเงินเยอะแล้ว ไม่รู้แลกได้รึเปล่า อ่าน

เว็บข้อมูลของ Lockerz

เว็บข้อมูลของ Lockerz


 

 โรคไข้เลือดออก

Go down 
ผู้ตั้งข้อความ
nu_kun0014
เกลียน-เทพ ออนพีซี Lv 1 EXP 30%
เกลียน-เทพ ออนพีซี Lv 1 EXP 30%
nu_kun0014


จำนวนข้อความ 15
เงิน Greaninw 45
พลังน้ำใจ 0
Join date 29/12/2009
อายุ : 31

เกมส์มหาสนุก
ตัวละคร: นักรบ
HP:
โรคไข้เลือดออก Left_bar_bleue100/100โรคไข้เลือดออก Empty_bar_bleue  (100/100)

โรคไข้เลือดออก Empty
ตั้งหัวข้อเรื่อง: โรคไข้เลือดออก   โรคไข้เลือดออก EmptyThu Dec 31, 2009 8:07 pm

โรคไข้เลือดออก

ไข้เลือดออกเป็นโรคที่เกิดจากยุงเป็นพาหะของโรคไข้เลือดออกนอกจากจะเป็นปัญหาสาธารณะสุขของประเทศไทยแล้วยังเป็นปัญหาสาธารณสุขทั่่วโลกโดยเฉพาะประเทศในเขตร้อนชื้นและก่อให้เกิดความกังวลต่อผู้ปกครองเวลาเด็กมีไข้ บทความนี้จะบรรยายถึงโรคไข้เลือดออกในแง่การดูแลผู้ป่วยซึ่งมีหัวข้อดังต่อไปนี้
การติดเชื้อไวรัสแดงกิวมีอาการได้ 3 แบบคือ
การติดเชื้อไข้แดงกิ่ว Denque Fever
ไข้เลือดออก [Dengue hemorrhagic fever-DHF]
สำหรับไข้เลือดออกแดงกิวที่ช็อก Denque Shock Syndrome DSS
การดำเนินโรคของไข้เลือดออก
แบ่งออกเป็น 3 ระยะดังต่อไปนี้ ระยะไข้ ระยะวิกฤติ/ช็อก และระยะฟื้นตัว
1. ระยะไข้สูง
• ลักษณะเป็นไข้สูงเฉียบพลัน 39-41 ซ เป็นเวลา 2-7 วัน ผู้ป่วยอาจมีอาการชักได้ มักมีหน้าแดง ไม่มีน้ำมูกหรือไอ ในเด็กโตอาจบ่นปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ เบื่ออาหาร อาเจียน เลือดออก ตับโตและกดเจ็บแต่ตัวไม่เหลือง มีผื่นตามตัวผู้ป่วยส่วนใหญ่จะไม่มีอาการน้ำมูกไหลหรือไอซึ่งจะช่วยในการวินิจฉัยโรคไข้เลือดออกจากพวกหัดหรือไข้หวัด
• ในระยะไข้อาการทางเดินอาหารที่พบบ่อยได้แก่เบื่ออาหาร อาเจียน บางรายอาจจะมีอาการปวดท้องร่วมด้วย ในระยะแรกจะปวดทั่วไป แต่ต่อมาจะปวดชายโครงด้านขวาเนื่องจากตับโต
• ไข้ส่วนใหญ่จะอยู่ลอย 2-7 วัน ประมาณร้อยละ 70 จะมีไข้ 4-5 วัน รายที่มีอาการเร็วที่สุดคือ 2 วัน ร้อยละ 15 จะมีไข้เกิด 7 วัน
• อาการเลือดออกที่พบบ่อยที่สุดคือจุดเลือดออกตามผิวหนังเนื่องจากเส้นเลือดเปราะ หรือทำ การทำ touniquet test จุดเลือดออกจะพบตามแขน ขา ลำตัว รักแร้อาจจะมีเลือดกำเดา เลือดออกตามไรฟัน อาเจียนหรือถ่ายเป็นเลือด
2. ระยะวิกฤตหรือระยะช็อค
• ระยะวิกฤตหรือระยะช๊อคมักเกิดขึ้นพร้อมๆกับการที่ผู้ป่วยมีไข้ลง เกิดจากกรั่วของพลาสมาโดยระยะรั่วจะประมาณ 24-48 ชั่วโมงประมาณหนึ่งในสามจะมีอาการรุนแรงมีภาวะความดันโลหิตต่ำเนื่องจากเกิดการรั่วของพลาสมาไปยังปอดหรือช่องท้องซึ่งจะเกิดพร้อมๆกับไข้ลง ซึ่งอาจจะเกิดได้ตั้งแต่วันที่ 3-8 ของไข้ ผู้ป่วยจะกระสับกระส่าย มือเท้าเย็น ชีพขจรเร็ว ความดันโลหิตต่ำ ในรายที่ไม่รุนแรงผู้ป่วยดีขึ้น บางรายอาจมีเหงื่อออก มือเท้าเย็น ชีพขจรเบา ความดันเลือดลดลงมากกว่า 20 มิลิเมตรปรอท ผู้ไข้เลือดออกที่อยู่ในภาวะช็อกจะรู้สติดี พูดรู้เรื่อง อาจจะบ่นกระหายน้ำบางรายอาจจะมีภาวะปวดท้อง ภาวะช็อกจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ถ้าไม่ได้รับการดูแลรักษาผู้ป่วยจะมีอาการเลวลงอย่างรวดเร็ว รอบปากเขียว ผิวสีม่วง ตัวเย็น วัดความดันไม่ได้ ผู้ป่วยจะเสียชีวิตใน 12-24 ชั่วโมง
• ในรายที่อาการไม่รุนแรงเมื่อไข้ลงอาจจะมีอาการมือเท้าเย็นเล็กน้อยร่วมกับมีอาการชีพขจรเร็วเนื่องจากมีการรั่วของพลาสมาไม่รุนแรงจึงไม่เกิดอาการช็อก
ระหว่างการเกิดภาวะช็อกจะเกิดการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญคือ
1. มีการรั่วของพลาสมาทำให้เกิดความดันโลหิตต่ำ ซึ่งมีหลักฐานคือ
• ระดับควาเข้มของเลือด(Hematocrit Hct)เพิ่มขึ้นก่อนเกิดภาวะช็อก และขณะช็อก และยังอยู่ในระดับสูงหากยังมีการรั่วของพลาสมา
• มีน้ำในช่องปอดและช่องท้อง
• ระดับโปรตีนและไข่ขาวในเลือดต่ำเนื่องจากรั่วออกไป
• หากเราใส่สายเข้าในหัวใจ จะพบว่าแรงดันในหัวใจต่ำซึ่งบ่งบอกว่ามีปริมาณน้ำในระบบไหลเวียนลดลง
• ตอบสนองต่อการให้น้ำเกลือ
2. ความต้านทาน(peripheral resisitance)ในระบบไหลเวียนเพิ่มดังจะเห็นได้ว่าความแตกต่างระหว่าความดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัวและคลายตัวแคบ เช่น 100/90(ปกติต้องต่างกันประมาณ 30 )
3. ระยะพักฟื้น
• ระยะพักฟื้นตัวของผู้ป่วยค่อนข้างเร็ว ในผู้ป่วยที่ไม่ช็อกเมื่อไข้ลดอาการจะดีขึ้น ผู้ป่วยเริ่มอยากรับประทานอาหาร เริ่มมีปัสสาวะมาก ชีพขจรเต้นช้า
• ส่วนผู้ป่วยที่ช็อก หากได้รับการรักษาที่ทันเวลาจะฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว การรั่วของพลาสมาจะหยุด ความดันโลหิตจะสูงขึ้น ชีพขจรช้าลง ปัสสาวะมากขึ้น ผู้ป่วยจะอยากรับประทานอาหาร ระยะฟื้นตัวใช้เวลา 2-3 วัน
รวมระยะเวลาของการเป็นไข้เลือดออกใช้เวลา 2-7 วัน
การเปลี่ยนแปลงทางห้องปฏิบัติการที่สำคัญ
• เม็ดเลือดขาวจะต่ำกว่าปกติ[<5,000] แต่ในวันแรกอาจจะสูงเล็กน้อยอาจจะมีเม็ดเลือดขาวชนิด polymorphonucleus [PMN] ประมาณร้อยละ 70-80 เมื่อไข้ลงจะกลายเป็น lymphocyte
• เกล็ดเลือด(platelet)ต่ำลงอย่างรวดเร็วน้อยกว่า 100,000 และต่ำอยู่3-5 วัน
• ความเข้มของเลือด(Hemoconcentration)เพิ่มขึ้น เช่นจาก 40%เป็น 44 %
• ในระยะช็อกเลือดจะออกง่ายเนื่องจากกลไกการแข็งตัวของเลือดเสียไป
• การตรวจรังสีของปอดอาจจะพบว่ามีน้ำในช่องปอด
• การตรวจการทำงานของตับพบว่ามีการอักเสบโดยมีการเพิ่มขึ้นของ sgot,sgpt ประมาณ2-3 เท่า
การดูแลผู้ป่วยไข้เลือดออกในระยะไข้สูง
การดูแลในระยะนี้ญาติอาจจะต้องดูแลเองถ้าแพทย์ยังไม่ได้รับตัวไว้ในโรงพยาบาล ผู้ป่วยไข้เลือดออกร้อยละ 70จะมีไข้ 4-5 วัน ผู้ป่วยจะเข้าสู่ระยะช็อกในวันที่ 5 ของไข้แต่ก็มีบางคน
แต่ผู้ป่วยร้อยละ 2-10จะมีไข้สูง2-3 วัน ดังนั้นวันที่ช็อกเร็วที่สุดคือ 3 วันนับจากวันที่มีไข้
1. ให้ผู้ป่วยพักผ่อนในที่ๆอากาศถ่ายเทได้ดี
2. ระหว่างมีไข้สูงให้เช็ดตัวลดไข้โดยใช้น้ำธรรมดาหรือน้ำอุ่นบิดพอหมาดๆเช็ดบริเวณหน้า ลำตัว แขนขา และพักบริเวณรักแร แผ่นอก แผ่นหลัง ขาหนีบสลับกันไปมา ทำติดต่อกันอย่างน้อย 15 นาที ระหว่างเช็ดตัวหากมีอาการหนาวสั่นให้หยุดเช็ดแล้วห่มผ้า ในเด็กเล็กเมื่อไข้สูงมากอาจจะเกิดอาการชักได้โดยเฉพาะคนที่เคยมีประวัติชักตั้งแต่เด็ก
3. ให้รับประทานยาลดไข้ พาราเซตามอล ระยะห่างของการให้ยาลดไข้ไม่ควรน้อยกว่า 4 ชั่วโมง ห้ามให้ยาลดไข้อื่น เช่น แอสไพริน ยาซองลดไข้ทุกชนิด ยาหัวสิงห์ ยาไอบรูโพรเฟน เพราะอาจทำให้เลือดในกระเพาะได้ นอกจากนี้ แอสไพรินอาจทำให้เกิด Reye syndrome ควรให้ยาลดไข้เฉพาะเวลาไข้สูงเท่านั้นโดยให้ลดต่ำกว่า 39 องศา การให้ยาลดไข้มากเกินไปอาจจะมีพิษต่อตับ การให้ดื่มน้ำเกลือแร่อย่างเพียงพอจะช่วยให้ไข่ต่ำลงได้บ้าง
4. ห้ามฉีดยาเข้ากล้าม
5. อาหาร ควรเป็นอาหารอ่อน ย่อยง่าย ถ้าเบื่ออาหารหรือรับประทานได้น้อย แนะนำให้ดื่มนม น้ำผลไม้ หรือน้ำเกลือแร่ ถ้าอาเจียนมาก แนะนำให้จิบน้ำเกลือครั้งละน้อยๆบ่อยๆ ควรงดรับประทานอาหารที่มีสีแดงหรือดำ พยายามหลีกเลี่ยงการให้น้ำเกลือโดยไม่จำเป็น
6. ควรหลีกเลี่ยงยาอื่นๆโดยไม่จำเป็น
• ถ้าอาเจียนมาก อาจพิจารณาให้ domperidone แบ่งให้วันละ 3 ครั้งควรให้ช่วงสั้นๆ
• หากผู้ป่วยใช้ยากันชัก ก็ให้ใช้ต่อ
• steroid ไม่ควรให้
• ไม่ควรใช้ยาปฏิชีวนะ
7. จะต้องติดตามดูอาการอย่างใกล้ชิด เพื่อที่จะได้ตรวจพบและป้องกันภาวะช็อกได้ทันเวลา ช็อกมักจะเกิดขึ้นพร้อมกับไข้ลงประมาณตั้งแต่วันที่ 3 ของการป่วย เมื่อผู้ป่วยมีอาการดังต่อไปนี้ข้อใดข้อหนึ่ง ต้องรีบนำส่งโรงพยาบาล
• มีอาการเลวลงเมื่อไข้ลดลง มีเลือดออก เช่น เลือดกำเดา อาเจียนหรือถ่ายเป็นเลือด
• อาเจียนมากตลอดเวลา
• ปวดท้องมาก
• ผู้ป่วยซึม ไม่ดื่มน้ำ หรือรับประทานอาหารได้น้อยลง
• กระหายน้ำตลอดเวลา
• กระสับกระส่าย เอะอะโวยวาย ร้องกวนมากในเด็กเล็ก
• พฤติกรรมเปลี่ยนแปลง เช่นพูดไม่รู้เรื่อง
• ตัวเย็น เหงื่อออก ตัวลาย
• ไม่ปัสสาวะเป็นเวลานานเกิน 6 ชั่วโมง
ตั้งแต่วันที่ 3 ของโรคแพทย์อาจจะนัดไปตรวจทุกวัน หรืออาจนัดตามความเหมาะสมจนกว่าไข้จะลง 24 ชั่วโมง หรือจนกว่าผู้ป่วยจะมีอาการปกติ
8. เมื่อผู้ป่วยไปที่โรงพยาบาล แพทย์จะทำ toumiquet test ทุกรายที่ไข้สูงน้อยกว่า 7 วันและทำการตรวจเลือดเพื่อตรวจจำนวนเม็ดเลือดขาวและเกร็ดเลือด และนัดตรวจซ้ำเป็นระยะ เมื่อเม็ดเลือดขาวต่ำลง ร่วมกับเกร็ดเลือดลดลง และความเข็มข้นของเลือดสูงขึ้น แสดงว่าเริ่มมีการรั่วของพลาสมาออกจากเส้นเลือด และอาจช็อกได้
9. โดยทั่วไปไม่จำเป็นต้องรับผู้ป่วยไว้ในโรงพยาบาลโดยเฉพาะในระยะแรกของการมีไข้ หากมีอาการดังกล่าวเบื้องต้นจึงรับไว้รักษาในโรงพยาบาล
การดูแลผู้ป่วยไข้เลือดออก
การดูแลผู้ป่วยไข้เลือดออกให้มีประสิทธิภาพต้องประกอบไปด้วย บุคลากรที่ได้รับการอบรมเป็นอย่างดี การตรวจทางห้องปฏิบัติการที่ทันสมัย มียาและคลังโลหิตที่ทันสมัย การวินิจฉัยโรคตั้งแต่เริ่มแรกจะเป็นปัจจัยที่สำคัญต่ออัตรารอดชีวิต ในการรักษาจะแบ่งคนไข้ออกเป็น 3 กลุ่ม
การระบาดในประเทศไทย
ไข้เลือดออกเริ่มระบาดในเอเซียเมื่อปี 1950 และระบาดมาตลอดจนเป็นโรคประจำท้องถิ่น และทำให้เกิดการเสียชีวิตและการนอนโรงพยาบาลเป็นจำนวนมาก จากสถิติที่แสดงจะพบว่าอัตราการเสียชีวิตของไข้เลือดออกได้ลดลงเป็นอย่างมาก แต่กลับล้มเหลวในแง่ของการควบคุมการระบาดของโรค จะเห็นได้ว่าโรคไข้เลือดออกจะมีการระบาดทุก 2 ปี ทั้งนี้อาจจะเกิดจากหลายสาเหตุประกอบกัน
• ภาคประชาชนขาดการตระหนักเกี่ยวกับการป้องกันไข้เลือดออก ทำให้ไม่ร่วมมือการดูแลสิ่งแวดล้อมเพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ของยุง
• ภาคชุมชนขาดความร่วมมือในการจัดการกับสิ่งแวดล้อมที่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุง แหล่งน้ำขังต่างในฤดูฝน ท่อระบายน้ำ ภาชนะที่ทำให้เกิดการขังน้ำ
• ภาครัฐ ยังไม่มีกฎหมายที่จะควบคุมสิ่งแวดล้อมในชุมชน และครัวเรือน
• ขาดการดำเนินงานอย่างจริงจังในการรณรงค์ป้องกันไข้เลือดออก

การเจาะเลือดเพื่อวินิจฉัยโรคไข้เลือดออก
การเจาะเลือดเพื่อวินิจฉัยโรคไข้เลือดออกมี 3 วิธี
1. เพาะเชื้อไวรัสไข้เลือดออก วิธีนี้ต้องอาศัยเครื่องมือและทักษะ
2. การทดสอบทางภูมิคุ้มกัน โดยการเปรียบเทียบภูมิคุ้มกันตั้งแรกเป็นไข้ และอีกสองสัปดาห์ หากภูมิคุ้มกันเพิ่มขึ้นมากกว่า 4 เท่าแสดงว่าเป็นการติดเชื้อไข้เลือดออก การทดสอบภูมิที่นิยมทำได้แก่
• Haemagglutination inhibition (HI) test เป็นการทดสอบที่นิยมทำมากที่สุด เนื่องจากใช้เครื่องมือน้อย การตรวจไม่ยุงยากและมีความไวสูง ภูมิชนิดนี้จะเริ่มขึ้นในวันที่ 5 ของไข้ระดับของภูมิมักจะน้อยกว่า 10 สำหรับภูมิที่เจาะตอนที่ผู้ป่วยหายแล้วภูมิจะขึ้นโดยมากมักจะตำ่กว่า 640 ข้อเสียของตรวจนี้คือจะขาดความจำเพาะ และไม่สามารถหาว่าเกิดจากเชื้อไข้เลือดออกชนิดไหน
• Complement fixation (CF) test การตรวจนี้ไม่เป็นที่นิยมเนื่องจากการตรวจต้องใช้เครื่องมือ และต้องการทักษะในการทำ ภุมิจะเกิดช้ากว่าชนิด Haemagglutination inhibition แต่จะมีความจำเพาะกับชนิดของเชื้อมากกว่าชนิด Haemagglutination inhibition เหมาะสำหรับการตรวจหาการติดเชื้อครั้งแรก
• Neutralization test (NT) การตรวจนี้เป็นการตรวจที่ไว และมีความแน่นอนมากที่สุด และภูมิที่เกิดจะอยู่นานทำให้ตรวจเพื่อหาการระบาดของเชื้อ
• IgM -capture enzyme-linked immuno-sorbent assay (MAC-ELISA) เป็นการตรวจหาภูมิต่อเชื้อไข้เลือดออกชนิด IgM ภู้มชนิดนี้จะขึ้นเร็วโดยประมาณวันที่ 5 ของไข้ บางคนก็ขึ้นวันที่ 2-4 แต่บางคนก็ไม่ขึ้น
• IgG -ELISA เป็นการตรวจเพื่อหาภูมิต่อเชื้อไข้เลือดออกชนิด IgG ความไวของการตรวจจะไวกว่าชนิด (HI) test แต่ไม่จำเพาะกับชนิดของเชื้อ
การป้องกันโรคไข้เลือดออก
จนกระทั่งทุกวันนี้ยังไม่ยาที่ใช้รักษาไข้เลือดออก หรือวัคซีนป้องกันไข้เลือดออก ดังนั้นการป้องกันจึงเป็นวิธีที่ดีที่สุดโดยป้องกันการแพร่ของยุง เท่าที่ผ่านมาการควบคุมยังได้ผลไม่ดีเนื่องจากเน้นเรื่องการทำลายยุงซึ่งสิ้นเปลืองงบประมาณ และการควบคุมยุงต้องทำเป็นบริเวณกว้าง การควบคุมที่จะให้ผลยั่งยืนควรจะเน้นที่การควบคุมลูกน้ำ การควบคุมสามารถร่วมหน่วยงานราชการอื่น องค์กรเอกชน ท้องถิ่น ดังนั้นการควบคุมที่ดีต้องบูรณาการเอาหน่วยงานที่มีอยู่ และวิธีการต่างๆ( การควบคุมสิ่งแวดล้อม การใช้ทางชีวภาพ การใช้สารเคมี)
การควบคุมสิ่งแวดล้อม Environmental management
การควบคุมสิ่งแวดล้อมเป็นการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมเพื่อไม่ยุงมีการขยายพันธุ์
• แทงค์ บ่อ กะละมัง ที่เก็บกักน้ำจะเป็นแหล่งที่ยุงออกไข่และกลายเป็นยุง ต้องมีฝาปิดและหมั่นตรวจสอบว่ามีลูกน้ำหรือไม่
• ให้ตรวจรอยรั่วของท่อน้ำ แทงค์น้ำหรืออุปกรณ์ที่เกี่ยวกับน้ำว่ารั่วหรือไม่ โดยเฉพาะฤดูฝน
• ตรวจสอบแจกัน ถ้วยรองขาโตะ๊ ต้องเปลี่ยนน้ำทุกสัปดาห์ สำหรับแจกันอาจจะใส่ทรายผสมลงไป ส่วยถ้วยรองขาโต๊ะให้ใส่เกลือเพื่อป้องกันลูกน้ำ
• มั่นตรวจสอบถาดรองน้ำที่ตู้เย็นหรือเครื่องปรับอากาศเพราะเป็นที่แพร่พันธ์ของยุง โดยเฉพาะถาดระบายน้ำของเครื่องปรับอากาศซึ่งออกแบบไม่ดี โดยรูระบายน้ำอยู่เหนือก้นถาดหลายเซ็นติเมตร ทำให้มีน้ำขังซึ่งเป็นแหล่งเพาะพันธ์ยุง
• ตรวจรอบๆบ้านว่าแหล่งน้ำขังหรือไม่ ท่อระบายน้ำบนบนหลังคามีแองขังน้ำหรือไม่หากมีต้องจัดการ
• ขวดน้ำ กระป๋อง หรือภาชนะอื่นที่อาจจะเก็บขังน้ำ หากไม่ใช้ให้ใส่ถุงหรือฝังดินเพื่อไม่ให้น้ำขัง
• ยางเก่าที่ไม่ใช้ก็เป็นแหล่งขังน้ำได้เช่นกัน
• หากใครมีรัวไม้ หรือต้นไม้ที่มีรูกลวง ให้นำคอนกรีตเทใส่ปิดรู ต้นไผ่ต้องตัดตรงข้อและให้เทคอนกรีตปิแอ่งน้ำ
การป้องกันส่วนบุคคล
• ใส่เสื้อผ้าที่หนาพอสมควร ควรจะใส่เสื้อแขนขาว และการเกงขายาว เด็ดนักเรียนหญิงก็ควรใส่กางเกง
• การใช้ยาฆ่ายุง เช่น pyrethrum ก้อนสารเคมี
• การใช้กลิ่นกันยุงเช่น ตะไคร้ หรือสารเคมีอื่ๆ
• นอนในมุ้งลวด หรือมุ้ง
การควบคุมยุงโดยทางชีวะ
• เลี้ยงปลาในอ่างที่ปลูกต้นไม้ หรือแหล่งน้ำตามธรรมชาติ
• ใช้แบคทีเรียที่ผลิตสาร toxin ฆ่ายุงได้แก่เชื้อ Bacillus thuringiensis serotype H-14 (Bt.H-14) and Bacillus sphaericus (Bs)
• การใช้เครื่องมือดัดจับลูกน้ำซึ่งเคยใช้ได้ผลที่สนาบบินของสิงคโป แต่สำหรับกรณีประเทศไทยยังได้ผลไม่ดีเนื่องจากไม่สามารถควบคุมแหล่งน้ำธรรมชาติจึงยังมีการแพร่พันธ์ของยุง
การใช้สารเคมีในการควบคุม
• การใช้ยาฆ่าลูกน้ำ วิธีการนี้จะสิ้นเปลืองและไม่เหมาะที่จะใช้อย่างต่อเนื่อง วิธีการนี้จะเหมาะสำหรับพื้นที่ที่มีการระบาดและได้มีการสำรวจพบว่ามีความชุกของยุงมากกว่าปกติ
• Temephos 1% sand granules โดยการใส่ทรายที่มีสารเคมีนี้ตามอัตราส่วนที่กำหนดซึ่งไม่อัตรายต่อคน
• การใช้สารเคมีพ่นตามบ้านเพื่อฆ่ายุง วิธีการนี้ใช้ในประเทศเอเซียหลายประเทศมามากกว่า 20 ปีแต่จากสถิติของการระบาดไม่ได้ลดลงเลย การพ่นหมอกควันเป็นรูปอธรรมที่มองเห็นว่ารัฐบาลได้ทำอะไรเกี่ยวกับการระบาด แต่การพ่นหมอกควันไม่ได้ลดจำนวนประชากรของยุง ข้อเสียคือทำให้คนละเลยความปลอดภัย การพ่นหมอกควันจะมีประโยชน์ในกรณีที่มีการระบาดของโรคไข้เลือดออก
การปฏิบัติเมื่อมีคนในบ้าน/ข้างบ้านเป็นไข้เลือดออก
• เนื่องจากไข้เลือดออกระบาดโดยมียุงเป็นตัวแพร่พันธ์ ดังนั้นเมื่อมีคนในบ้านหรือข้างบ้านเป็นไข้เลือดออก ควรจะบอกคนในบ้านหรือข้างบ้านว่ามีไข้เลือดออก
• แจ้งสาธารณสุขให้มาฉีดยาหมอกควันเพื่อฆ่ายุง
• ให้สมาชิกในครอบครัวป้องกันการถูกยุงกัดโดยการป้องกันส่วนบุคคลดังกล่าวข้างต้น
• สำรวจภายในบ้าน รอบบ้าน รวมทั้งเพื่อนบ้านว่ามีแหล่งแพร่พันธ์ยุงหรือไม่ หากมีให้จัดการเสีย
• เฝ้าดูอาการของสมาชิกในบ้านหรือข้างบ้านว่ามีไข้หรือไม่ หากมีไข้ให้ระวังว่าอาจจะเป็นไข้เลือดออก
ขึ้นไปข้างบน Go down
 
โรคไข้เลือดออก
ขึ้นไปข้างบน 
หน้า 1 จาก 1

Permissions in this forum:คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
Grean-inw :: แจกเกมส์PC โหลดเกมส์ โหลดหนัง :: :: อื่นๆ :: :: :: สื่อการเรียนการสอน ::-
ไปที่: